เกี่ยวกับโรงเรียนดุริยางค์ทหารเรือ
วีดีทัศน์ประวัติโรงเรียนดุริยางค์ทหารเรือ |
|
ข้อมูลและที่ตั้งสถาบัน | |
โรงเรียนดุริยางค์ กองดุริยางค์ทหารเรือ ฐานทัพเรือกรุงเทพ (รร.ดย.ดย.ทร.ฐท.กท.) ตั้งอยู่บริเวณฐานทัพเรือกรุงเทพ ถ.อิสรภาพ แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กทม. ๑๐๗๐๐ โทรศัพท์ติดต่อ ๐ ๒๔๗๕ ๓๐๕๔ โทรสาร (Fax) ๐ ๒๔๗๕ ๓๐๕๔ เว็บไซต์ของสถาบัน http://www. navy.mi.th/musicdiv และมีเนื้อที่ ๙ ไร่ ๑ งาน ๓๖ ตารางวา โดยมีอาณาเขต ดังนี้ ทิศเหนือ : จรด ฐท.กท. ทิศตะวันออก : จรด ขส.ทร. ทิศใต้ : จรด คลองมอญ ทิศตะวันตก : จรด ถนนอิสรภาพ |
|
ประวัติสถาบัน |
|
โรงเรียนดุริยางค์ทหารเรือ มีประวัติความเป็นมาคู่กับ กองดุริยางค์ทหารเรือ กล่าวคือ หน่วยดุริยางค์ทหารเรือ มีมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๒๑ โดยที่หน่วยดุริยางค์ทหารเรือในสมัยนั้น มีไว้บรรเลงในงานเกียรติยศ และสำหรับเรือพระที่นั่งในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสทางทะเลและต่างประเทศ ซึ่งตามบันทึกทางเอกสาร เดิมเรียกว่า “ทหารแตรมะรีน” ต่อมาใน พ.ศ.๒๔๔๘ จอมพลเรือเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ ได้ทรงปรับปรุงหน่วยดุริยางค์ทหารเรือให้พัฒนาก้าวหน้ายิ่งขึ้น ทรงให้เปลี่ยนชื่อเป็น “กองแตร” ขึ้นกับกรมทหารเรือฝ่ายบก และ ทรงกำหนดหลักสูตรการศึกษาวิชาการดนตรีขึ้น เรียกว่า “วิชาการแตร” ดังที่ปรากฏอยู่ในข้อบังคับระเบียบวิชาการต่างๆ ในกรมทหารเรือ ลง ๒๗ มิ.ย.๒๔๙๙ โดยรับบุคคลเข้ามาทำการฝึกหัดและบรรจุเป็นนักดนตรีทหารเรือ เพื่อเสริมวงดนตรีให้ใหญ่ขึ้น และทดแทนคนเก่าที่พ้นหน้าที่ไปตามกาลเวลา ต่อมาใน พ.ศ.๒๕๐๐ ทร. จึงได้กำหนดให้มีโรงเรียนดุริยางค์ขึ้น จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๕๐๒ เรือเอก สำเร็จ นิยมเดช(ยศขณะนั้น) นายทหารประจำกองดุริยางค์ทหารเรือ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนดุริยางค์ จึงได้ทำการจัดวางระเบียบหลักสูตรการศึกษาขึ้น มีการแบ่งการศึกษาออกเป็นชั้น และดำเนินการฝึกหัดศึกษาในระบบโรงเรียนโดยแท้จริง หลักสูตรสำหรับการฝึกหัดศึกษาของนักเรียนดุริยางค์ และได้รับสมัครบุคคลพลเรือนเข้ามาเป็นนักเรียนดุริยางค์โดยตรง ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๐๔ เป็นต้นมา โดยในช่วงปีแรก ๆ รับเฉพาะนักเรียนดุริยางค์ชาย พ.ศ.๒๕๑๐ จึงได้เริ่มมีการรับนักเรียนดุริยางค์หญิง ต่อมา โรงเรียนดุริยางค์ได้รับการกำหนดและอนุมัติอัตราให้เป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกองดุริยางค์ทหารเรือ สถานีทหารเรือกรุงเทพ |
|
สัญลักษณ์สถาบัน |
|
เป็นรูปสมอ พิณ ภายใต้มหามงกุฎ เบื้องล่างมีแถบปลายแฉกสะบัดขึ้นทั้งสองข้าง กลางแถบมีคำว่า “โรงเรียนดุริยางค์ทหารเรือ” (ไม่จำกัดสีและขนาด) |
|
นโยบาย วัตถุประสงค์ ภารกิจ พันธกิจ |
|
นโยบาย |
|
วัตถุประสงค์ |
|
ภารกิจ |
|
พันธกิจ |
|
ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ ค่านิยม และอัตลักษณ์ของถาบัน |
|
ปรัชญา |
|
ปณิธาน |
|
วิสัยทัศน์ |
|
ค่านิยมร่วมของสถาบัน คือ MUSICIAN โดยแต่ละตัวอักษรมีความหมาย ดังนี้ |
|
อัตลักษณ์ของสถาบัน |
|
โครงสร้างและการจัดส่วนราชการ |
|
แบ่งส่วนราชการเป็น ๕ หมวด ดังนี้ |
|
รายชื่อคณะกรรมการสถานศึกษา |
|
- ผบ.ฐท.กท. ประธานกรรมการ |
|
หลักสูตรการศึกษา |
|
โรงเรียนดุริยางค์ทหารเรือ มีการเปลี่ยนแปลง/แก้ไขการดำเนินการในด้านการศึกษา ให้สอดคล้องกับระเบียบยศ.ทร. ว่าด้วยการดำเนินการศึกษาของโรงเรียนชุมพลทหารเรือ และโรงเรียนซึ่งจัดการศึกษาเป็นภาค ในส่วนการศึกษาที่สาม พ.ศ.๒๕๒๑ โดยปรับปรุงการศึกษาจากหลักสูตรเดิม ที่มีการคิดคะแนนในระบบร้อยละมาเป็นระบบหน่วยกิต ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๒ มีการศึกษาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติตลอดหลักสูตร ๕ ปี รวม ๓๐๐ หน่วยกิต ต่อมา ทร. ได้อนุมัติให้ รร.ดย.ฯ ปรับหลักสูตรการศึกษาของ นดย.ฯ จากหลักสูตรเดิม ๕ ปี เป็นหลักสูตร ๖ ปี ตามหลักสูตรฉบับปรับปรุงใหม่ของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาได้รับการเทียบวุฒิการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และได้รับการแต่งตั้งยศจ่าตรี โดยเริ่มใช้กับ นดย.ชั้นปีที่ ๑ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๓๔ เป็นต้นมา ซึ่งหลักสูตรนี้ทาง รร.ดย.ฯ ได้ดำเนินการจัดทำหลักสูตรเป็น ๒ ระดับ คือ หลักสูตรการดุริยางค์ตอนต้น ใช้จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นปีที่ ๑ - ๓ และหลักสูตรการดุริยางค์ตอนปลาย ใช้จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นปีที่ ๔ - ๖
|
|
คุณสมบัติผู้เข้ารับการศึกษา |
|
บุคคลที่จะสมัครเข้าศึกษาใน รร.ดย.ฯ จะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยโรงเรียนทหารและระเบียบกองทัพเรือว่าด้วยการศึกษา พ.ศ. ๒๕๓๐ ดังนี้ (หลักสูตร ๓ ปี) ดังนี้ |
|
สิทธิของผู้สำเร็จการศึกษา |
|
เมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับการแต่งตั้งยศเป็นจ่าตรี พรรคพิเศษ เหล่าทหารดุริยางค์ โดยได้รับเงินเดือน ระดับ ป.๑ ชั้น ๑๖.๕ (๙,๗๑๐ บาท) และได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาศิลปหัตถกรรม สาขาวิชาการดนตรี รวมทั้งได้รับสิทธิต่าง ๆ ที่ทางราชการกำหนด เช่น การรักษาพยาบาล การศึกษาบุตร ฯลฯ |
|
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้สำเร็จการศึกษา |
|
ด้านวิชาการหรือวิชาชีพ |
|